ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ วงการอวกาศ " จันทรา - 3 " ของอินเดีย ลงจอดขั้วใต้ของดวงจันทร์สำเร็จเป็นชาติแรกของโลก

ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ วงการอวกาศ " จันทรา - 3 " ของอินเดีย ลงจอดขั้วใต้ของดวงจันทร์สำเร็จเป็นชาติแรกของโลก.

ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ วงการอวกาศ " จันทรา - 3 " ของอินเดีย ลงจอดขั้วใต้ของดวงจันทร์สำเร็จเป็นชาติแรกของโลก
ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ วงการอวกาศ " จันทรา - 3 " ของอินเดีย ลงจอดขั้วใต้ของดวงจันทร์สำเร็จเป็นชาติแรกของโลก

ยานสำรวจจันทรา-3

ยานสำรวจจันทรายาน-3 ของอินเดียลงจอด ชั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ โดย องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO) ซึ่งกลายเป็นยานลำแรกของโลกที่สามารถลงจอดบนพื้นที่ขั้วใต้ของดวงจันทร์สำเร็จ อินเดียจึงถือเป็นประเทศที่ 4 ของโลก นับจากสหภาพโซเวียต สหรัฐฯ และจีน ที่สามรถลงจอดได้อย่างสมบูลณ์บนดวงจันทร์.

หลังจากที่อินเดียได้มีความพยายามที่จะลงจอดให้ได้ โดยก่อนหน้านี้ได้ทำการส่ง "จันทรายาน-2" แต่พบกับความล้มเหลว เนื่องจากได้ตกกระแทกพื้นดวงจันทร์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2562 หลังจากนั้น 4 ปี อินเดียก็ยังไม่ยอมแพ้ และพยายามที่จะนำย่านลงจอดบนดวงจันทร์ให้ได้ โดยทางทีมวิเคราะห์ของอินเดียได้พยายามหาสาเหตุการตกของยาน "จันทรายาน-2" แล้วนำข้อบกพร่องต่างๆ มาปรับปรุงแก้ไข หลักๆ คือการตัดเครื่องยนต์ขับดันแบบปีกผีเสื้อตรงกลางออกซึ่ง เครื่องยนต์ดังกล่าวไม่สามารถปรับมุมได้ ซึ่งจากเดิมเครื่องยนต์ขับเคลื่อนมี 5 เครื่องยนต์ จึงปรับให้เหลือเพียง 4 เครื่องยนต์แทน นอกจากนี้ยังมีการปรับตัวเครื่องยนต์ให้มีความสามารถในการเปลี่ยนมุมขับเคลื่อนที่ได้ไวขึ้น จาก 10 องศาต่อวินาที เป็น 25 องศาต่อวินาที.

และยังมีการเพิ่มกล้อง Laser Doppler Velocimetry (LDV) เพื่อให้สามารถวัดระยะห่างได้แบบ 3 ทิศทาง เพิ่มความแม่นยำในการลงจอดของตัวย่าน แล้วยังเสริมความแข็งแรงที่ส่วนขาของยานเพื่อให้รับแรงกระแทกได้มากขึ้น อีกทั้งยังมีการอัปเดตซอฟต์แวร์อื่นๆ จากข้อมูลย่าน "จันทรา-2" อีกเป็นจำนวนมาก. แล้วในที่สุดความพยายามก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อได้ปล่อย "จันทรา-3" ออกไปยังดวงจันท์อีกครั้งตามแผนการฃปล่อยย่าน ในวันที่ 14 กรกฎาคม และตัวย่านเองก็ได้เข้าสู่วงโคจรดวงจันทร์เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม จนถึงขั้นตอนที่ยาน " จันทรา - 3 "  แยกตัวออกจากโมดูลขับดันเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม และ วันนี้ 23 สิงหาคม "จันทรา-3" ได้เข้าสู่ขั้นตอนติดเครื่องยนต์ชะลอความเร็วแนวนอนที่ความสูง 30 กิโลเมตรจากพื้นผิวดวงจันทร์ เพื่อเมื่อลดความเร็วจาก 1.68 กิโลเมตรต่อวินาทีจากความเร็วโคจร จนยานสามารถผ่านความสูง 2.1 กิโลเมตรจากพื้นดวงจันทร์ ซึ่งเคยเป็นจุดที่ยานลำก่อนหน้าประสบปัญหา แต่ "จันทรา-3" ก็สามารถปรับตัวเป็นแนวตั้งที่ความสูง 800 เมตรจากพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จ และติดเครื่องยนต์เพื่อต้านแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ จนสามารถลงแตะพื้นผิวดวงจันทร์ได้อย่างสวยงาม ท่ามกลางความยินดีของทีมงาน และผู้คนที่สนใจ. หลังจากนี้ยาน "จันทรา-3" จะปฏิบัติหน้าที่สำรวจทางวิทยาศาสตร์ต่อไปอีก 1 วันของดวงจันทร์ ซึ่งมีระยะเวลาเท่ากับ 14 วันของโลก รวมทั้งจะมีการปล่อยยานโรเวอร์ 6 ล้อ  ออกมาวิ่งสำรวจเพิ่มเติมด้วย.