Krispy Kreme ของฝากเลอค่า จากน่านฟ้า กทม.

Krispy Kreme ของฝากยอดนิยมส่งตรงจาก กทม

Krispy Kreme ของฝากเลอค่า จากน่านฟ้า กทม.
Krispy Kreme ของฝากเลอค่า จากน่านฟ้า กทม

Krispy Kreme ของฝากยอดนิยมส่งตรงจาก กทม .

ไม่แปลกใจที่เวลาเราจะบินกลับ ต่างจังหวัดที่ไร เพื่อนๆจะชอบฝากซื้อตลอดๆ  เมื่อสถานที่เปลี่ยนคุณค่าของสิ่งนั้นก็เปลี่ยนไปด้วย และนี่คือ Krispy Kreme .

คริสปี้ครีม Krispy Kreme โดนัทชื่อดัง รสชาติละมุนลิ้น นำเข้าจากต่างประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยสร้างปรากฎการณ์ ทำให้คนจำนวนมากต่อคิวยาวหลายชั่วโมงเพื่อรอซื้อ ซึ่งในช่วงแรกที่เปิดใหม่ เคยมีบางคนพูดเอาไว้ว่า “เดี๋ยวกระแสหมดก็เจ๊ง แต่ดูเหมือนว่าตอนนี้ Krispy Kreme จะขึ้นแทนกลายเป็นของฝากยอดนิยมเบอร์ต้นๆ เมื่อคุณจะกลับต่างจังหวัดไปซะแล้ว .

แต่ตั้งแต่วันแรกที่ Krispy Kreme เข้ามาจนถึงวันนี้ ก็เป็นเวลาสิบปีแล้วที่แบรนด์โดนัทนำเข้ารายนี้ยังคงได้รับความนิยมมาโดยตลอด และตอนนี้ยังได้รับการยกย่องจากผู้โดยสารภายในประเทศว่าเป็น ‘ของฝากเลอค่าจากเมืองกรุง’ อีกด้วย .

เพราะเรียกได้ว่า ถ้าขึ้นเครื่องไป จะเห็นผู้โดยสารส่วนใหญ่เดินถือกล่องโดนัทแบรนด์นี้กลับไปฝากคนที่ต่างจังหวัดกันเต็มไปหมด และก็ดังมากถึงขั้นที่มีคนรับซื้อ ฝากหิ้วกันเลยทีเดียว .

ทั้งที่ของฝากก็มีมากมาย แต่ทำไม Krispy Kreme ถึงได้ถูกยกให้เป็นของฝากยอดนิยม หรือพูดกันเล่นๆว่าเป็น  (OTOP) 5 ดาว แห่งกรุงเทพฯ อะไรคือเหตุผลที่ทำให้โดนัทเจ้านี้กลายเป็นของฝากยอดฮิตกลับบ้านต่างจังหวัด .

ถ้าใครเป็นแฟนคลับ คริสปี้ครีม จะรู้กันดีว่า โดนัทเจ้านี้ไม่ค่อยมีสาขามากมายสักเท่าไร ซึ่งหากเทียบกับดังกิ้น โดนัท (Dunkin’ Donuts) ที่มีกว่า 280 สาขา และมิสเตอร์ โดนัท (Mister Donut) ที่มีถึง 300 สาขา ก็ถือว่าห่างไกลกันหลายเท่าตัว.

แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาเลย เพราะความน้อยเหล่านี้ได้กลายมาเป็น ‘จุดแข็ง’ ทำให้คริสปี้ครีมขึ้นมาเด่นแบบ งงๆ เมื่อสาขามีน้อย ของในตลาดก็น้อยตาม การจะหาซื้อก็ยากขึ้น เอาแค่ในกรุงเทพฯ ก็มีไม่ครบทุกห้างแล้ว นั้นเลยทำให้คริสปี้ครีมกลายเป็นเหมือน ‘ไอเท็มหายาก (Rare item)’ สำหรับหลายคนไปโดยปริยาย .

อันที่จริงสถานการณ์แบบนี้ก็คล้ายกับ ‘กลยุทธ์การตลาดแบบขาดแคลน (Scarcity marketing)’  ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานว่า คนเรามักไม่สนใจสิ่งของ หรือสินค้าบริการที่มากมาย แต่มักจะโหยหา ‘สิ่งที่ขาดแคลน’ หรือที่เราเรียกกันว่า “Scarcity Effect”.

ตามปกติแล้ว การตลาดแบบขาดแคลนจะมาในแนวของการลดราคา โปรโมชันพิเศษที่จัดเฉพาะช่วงเวลา เล่นกับจิตวิทยา กระตุ้นความอยากให้เกิดการซื้อทันทีทัน และแน่นอนว่า โดนัทเจ้านี้ก็มีหลักใหญ่ใจความที่คล้ายคลึงกันคือ ‘ความโหยหา และขาดแคลน’ เนื่องจาก บางจังหวัดไม่มีสาขา หรือถ้ามีก็นับว่าน้อยมาก  (โดยสาขาต่างจังหวัดตอนนี้มีเพียง 8 สาขา )

อีกทั้งสถานที่ตั้งของสาขาบางแห่งที่ตั้งอยู่ในสนามบินอันดับต้นๆ ของประเทศ อย่างสนามบินดอนเมืองก็ปาเข้าไป 3 สาขาแล้ว ส่วนสนามบินสุวรรณภูมิก็มีมากถึง 2 สาขาด้วยกัน และส่วนใหญ่สาขาก็จะตั้งอยู่บริเวณทางเดินขึ้น-ลงเครื่องอีกด้วย จึงไม่ค่อยแปลกใจที่เราจะซื้อติดไม้ติดมือกลับไปฝากคนที่บ้าน .

รวมไปถึงความสะดวกที่ไม่ต้องหิ้วพะรุงพะรัง ซื้อเสร็จก็เดินขึ้นเครื่องได้ทันที ความซื้อง่าย ขายคล่องเหล่านี้จึงกลายมาเป็นอีกหนึ่งเหตุผลทๆให้หลายคนต้องแวะซื้อติดมือกลับไปฝากญาติผู้ใหญ่ เพื่อน หรือคนรู้จัก และถ้าลองสังเกตราคาดีๆ จะเห็นว่า โดนัทในสาขาที่สนามบินนั้น ‘แพงกว่า’ สาขาตามห้างพอสมควร แต่นั่นก็เป็นเรื่องที่หลายคนมองข้ามไป .